เอสซีจี แถลงผลประกอบการ ไตรมาส 1 ปี 68

กระแสเงินสดแกร่ง กำไรดีขึ้นทุกธุรกิจ รุก “4 กลยุทธ์” สู้ศึกสงครามการค้าโลก
1.) ลดต้นทุน แข่งตลาดโลก 2.) ขยายพอร์ตสินค้าคุณภาพ ราคาจับต้องได้ 3.) บุกตลาดใหม่ ศักยภาพสูง 4.) สร้างความได้เปรียบจากฐานการผลิตอาเซียน

กรุงเทพฯ 30 เมษายน 2568 – เอสซีจี เผยผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2568 ดีขึ้นกว่าไตรมาส 4 ปี 2567 กระแสเงินสด (EBITDA) แข็งแกร่งต่อเนื่อง 12,889 ล้านบาท กำไร 1,099 ล้านบาท จากการเร่งปรับตัวสู้ความท้าทายในทุกธุรกิจและมาตรการเสริมความเข้มแข็งการเงินต่อเนื่อง พร้อมยกระดับ “4 กลยุทธ์”สู้ศึกสงครามการค้าโลกรุนแรงยืดเยื้อ 1.) ลดต้นทุน แข่งขันกับผู้ผลิตระดับโลก 2.) ขยายพอร์ตสินค้าให้รองรับความต้องการตลาดทุกระดับ ทั้ง“สินค้ามูลค่าเพิ่มสูง สินค้ากรีน และสินค้าคุณภาพ ราคาจับต้องได้” 3.)บุกตลาดใหม่ที่มีศักยภาพสูง 4.)สร้างความได้เปรียบโดยส่งออกจากฐานการผลิตที่หลากหลายในภูมิภาคอาเซียน มั่นใจธุรกิจมีเสถียรภาพเติบโตได้ท่ามกลางความท้าทาย

นายธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า ไตรมาส 1 ปี 2568 เอสซีจีมีกำไรสำหรับงวด 1,099 ล้านบาท เนื่องจากทุกธุรกิจปรับตัวดีขึ้นตามมาตรการเสริมความเข้มแข็งทางการเงินที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเร่งยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันด้วยการลดต้นทุนการผลิตและการบริหารจัดการรวมทั้งการขยายตลาดใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพประกอบกับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับซีเมนต์และการก่อสร้างมีความต้องการเพิ่มขึ้นตามฤดูกาลก่อสร้างและงบประมาณภาครัฐที่เบิกจ่ายต่อเนื่อง ขณะที่เอสซีจี เคมิคอลส์(เอสซีจีซี) ปรับตัวดีขึ้นจากการบริหารต้นทุนและปรับพอร์ตสินค้ารวมถึงเอสซีจีพี ที่ยังคงแข็งแกร่งจากการมุ่งเน้นการเติบโตเพื่อรองรับอุปสงค์ของผู้บริโภคภายในประเทศของกลุ่มอาเซียน

เอสซีจี แถลงผลประกอบการ ไตรมาส 1 ปี 68

เสริมพอร์ตสินค้าสำหรับผู้บริโภค (Consumer Packaging)ควบคู่กับการบริหารต้นทุนขณะเดียวกัน เอสซีจี ได้ดำเนินมาตรการเสริมความเข้มแข็งทางการเงินอย่างต่อเนื่องทั้งการบริหารจัดการกระแสเงินสด ต้นทุน และเงินทุนหมุนเวียนอย่างระมัดระวังส่งผลให้ไตรมาส 1 ปี 2568 เอสซีจี มีกระแสเงินสด (EBITDA) 12,889 ล้านบาท สะท้อนการปรับตัวฉับไวของธุรกิจเพื่อคงศักยภาพการแข่งขันท่ามกลางความท้าทายสำหรับ สถานการณ์สงครามการค้าโลกจากการขึ้นภาษีของสหรัฐฯ ที่รุนแรง ล่าสุด “กองทุนการเงินระหว่างประเทศ” (IMF) ได้ปรับลดประมาณการการเติบโตเศรษฐกิจโลกปีนี้เหลือเพียง 2.8% ปัจจัยสำคัญมาจากการลดประมาณการ GDP ลงเกือบทุกประเทศ สำหรับ GDP ประเทศไทยปรับลดลงเหลือ 1.8% เอสซีจี ได้ประเมินสถานการณ์และผลกระทบจากสงครามการค้าโลกพบว่า 1.) ผลกระทบทางตรง ต่อเอสซีจี มีเล็กน้อยเนื่องจากในปี 2567 มีการส่งออกไปสหรัฐฯ เพียง 1% จากยอดขายรวมของเอสซีจี 2.) ผลกระทบทางอ้อม หากพ้นระยะที่สหรัฐฯประกาศชะลอการจัดเก็บภาษีนำเข้า 90 วันกลุ่มประเทศที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ อาจถูกเก็บอัตราภาษีที่แตกต่างกันโดยเฉพาะในประเทศไทยที่อาจถูกเก็บอัตราภาษีนำเข้าสูงถึง 36% ตามที่สหรัฐฯ ประกาศเมื่อ 2 เมษายน 2568 จึงคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจทั้งในระดับภูมิภาคและโลกจะชะลอตัวรุนแรงการส่งออกระหว่างประเทศรวมถึงการทะลักของสินค้าจากประเทศอื่นเข้ามาในประเทศไทย จะส่งผลให้การแข่งขันรุนแรงยิ่งขึ้น”

เอสซีจี แถลงผลประกอบการ ไตรมาส 1 ปี 68

นายธรรมศักดิ์ กล่าวว่า “สงครามการค้าได้สร้างแรงกดดันทั่วโลกแต่ยังมีโอกาสที่ซ่อนอยู่ เช่น แนวโน้มราคาน้ำมันโลกที่ลดลงผู้ผลิตปิโตรเคมีในจีนประสบปัญหาการจัดหาวัตถุดิบจากสหรัฐฯ ตลอดจนบางตลาดยังมีกำลังซื้อสูงสำหรับสินค้ามูลค่าเพิ่มสูง (High-Value Added Products – HVA Products) สินค้ากรีน (Green Products)และสินค้าคุณภาพ ราคาจับต้องได้ (Quality Affordable Products) เอสซีจีจึงยกระดับการปรับตัวให้เข้มข้นรับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ด้วย 4 กลยุทธ์สำคัญ ได้แก่ 1.) ลดต้นทุน แข่งขันกับผู้ผลิตระดับโลก 2.) ขยายพอร์ตสินค้าให้รองรับความต้องการตลาดทุกระดับ ทั้ง
“สินค้ามูลค่าเพิ่มสูง สินค้ากรีน และสินค้าคุณภาพ ราคาจับต้องได้” 3.)บุกตลาดใหม่ที่มีศักยภาพสูง และ 4.)สร้างความได้เปรียบโดยส่งออกจากฐานการผลิตที่หลากหลายในภูมิภาคอาเซียน ประกอบกับมาตรการเสริมความเข้มแข็งทางการเงินที่ทำต่อเนื่องอย่างได้ผลทำให้มั่นใจได้ว่าธุรกิจจะสามารถฝ่าความท้าทายจากสงครามการค้าโลกได้อย่างทันท่วงที”

เอสซีจี แถลงผลประกอบการ ไตรมาส 1 ปี 68

เอสซีจี แถลงผลประกอบการ ไตรมาส 1 ปี 68

4 กลยุทธ์รับมือสงครามการค้าโลก ของทุกธุรกิจในเอสซีจี

1.) ลดต้นทุน แข่งขันกับผู้ผลิตระดับโลกเพื่อรับมือสินค้าราคาถูกจากประเทศอื่นที่อาจเข้ามาแข่งขัน ด้วยวิธีการดังนี้ลดต้นทุนการผลิต (Operation Cost) โดยควบรวมไลน์การผลิตปรับปรุงประสิทธิภาพ ลดขั้นตอน โดยเพิ่มการใช้ Robotic Automation เช่น เอสซีจี ไฮม์ใช้หุ่นยนต์อัจฉริยะประกอบบ้านโมดูลาร์ทนแผ่นดินไหวอย่างแม่นยำและ เอสซีจี เดคคอร์ ผลิตสุขภัณฑ์ COTTO ใช้เครื่องหล่อแรงดันสูงและระบบพ่นสีเคลือบอัตโนมัติด้วยหุ่นยนต์ให้ขึ้นรูปสุขภัณฑ์ได้รวดเร็ว สีเรียบเนียนสม่ำเสมอและใช้เทคโนโลยีการประมวลภาพ (Image Processing) ช่วยตรวจวิเคราะห์คุณภาพสินค้าอย่างแม่นยำเพื่อความมั่นใจในมาตรฐานก่อนส่งถึงมือลูกค้าลดต้นทุนการบริหารจัดการ (Admin Cost) โดยเพิ่มการใช้ AI ปรับปรุงประสิทธิภาพทั่วทั้งองค์กร เช่น ใช้ AI ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างหรือการคาดการณ์ความผิดปกติของเครื่องจักรก่อนเกิดความเสียหาย (Predictive Maintenance) ปรับลดเงินทุนหมุนเวียน (Working Capital) ตลอดห่วงโซ่อุปทานส่งผลให้สามารถลดหนี้สินสุทธิลงเหลือ 290,504 ล้านบาท ในไตรมาส 1 ปี 2568และเพิ่มสภาพคล่องให้ธุรกิจเพิ่มการใช้พลังงานสะอาด โดยใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (SolarEnergy) เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานชีวมวล (Biomass) และพลังงานทางเลือก (AlternativeFuel) ในกระบวนการผลิต เพื่อเสริมประสิทธิภาพ ลดต้นทุนเพิ่มความได้เปรียบด้านการแข่งขัน และรักษ์โลก โดยในไตรมาส 1 ปี 2568 เอสซีจีใช้พลังงานทางเลือกในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็น 44% ของเชื้อเพลิงทั้งหมด

2.) ขยายพอร์ตสินค้าให้รองรับความต้องการตลาดทุกระดับพัฒนา “สินค้ามูลค่าเพิ่มสูงและสินค้ากรีน” (HVA Products & GreenProducts) ให้ตอบโจทย์ตลาด เช่น กระเบื้องเกรซพอร์ซเลนขนาดใหญ่, ปูนเอสซีจีคาร์บอนต่ำที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาเป็น Gen 3 ที่สามารถลดการปล่อยคาร์บอนฯ ได้ประมาณ 40% ตั้งเป้าจำหน่ายในกลุ่มสินค้าปูนตกแต่งในไตรมาสที่ 4 ปี 2568, กลุ่มสินค้าหลังคา ผนังและพื้นตกแต่งที่ใช้เทคโนโลยี Digital Printing พร้อม UV Coating เคลือบผิวทนทานกันเชื้อรา และหลอดฉีดยาและเข็มฉีดยา ที่เอสซีจีพีผสานความร่วมมือกับ Once Medical Company Limited เพิ่ม “สินค้าคุณภาพ ราคาจับต้องได้” (Quality Affordable Products) ที่มีความต้องการสูง ทำกำไรทันที เช่น เอสซีจี โซลาร์รูฟ ที่ผลิตไฟฟ้าได้เต็ประสิทธิภาพ และมีหลายแพ็กเกจราคาให้เลือก,หลังคาเซรามิก เอสซีจี รุ่น Celica Curve ที่คุ้มค่า ทนทาน สีสวยติดทนกว่าด้วยเนื้อเซรามิก, กระเบื้องคอนกรีตปูพื้นทางเดิน เอสซีจีที่มีดีไซน์และลายยอดนิยม แข็งแรงทนทานใช้ในงานออกแบบได้หลากหลาย และท่อ PVC เกษตรที่ออกแบบมาให้เหมาะสมกับความต้องการของเกษตรกร

3.) บุกตลาดใหม่ที่มีศักยภาพสูง โดยขยายการส่งออกสินค้า เช่น ปูนเอสซีจีคาร์บอนต่ำ กระเบื้องคอนกรีตสมาร์ทบอร์ด กระดาษบรรจุภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์อาหารไปยังตลาดใหม่ที่มีศักยภาพและความต้องการ เช่น ประเทศที่ปรับตัวและได้ประโยชน์จากสงครามการค้าโดยใช้เครือข่ายของธุรกิจต่าง ๆ ของเอสซีจีที่มีอยู่ทั่วโลก

4.) สร้างความได้เปรียบโดยส่งออกจากฐานการผลิตที่หลากหลายในภูมิภาคอาเซียน โดยสลับฐานการผลิตและส่งออกจากประเทศที่มีอัตราภาษีนำเข้าสหรัฐฯ ต่ำกว่า ฐานการผลิตที่หลากหลายซึ่งเป็นจุดแข็งของเอสซีจีจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทันท่วงที เช่น บรรจุภัณฑ์ของเอสซีจีพี ที่มีฐานการผลิตและส่งออกได้จากทั้งไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ส่วนปูนเอสซีจีคาร์บอนต่ำ และกระเบื้องเกรซพอร์ซเลน สามารถผลิตและส่งออกได้จากทั้งไทย และเวียดนามอย่างไรก็ตาม แม้สงครามการค้ายังมีความไม่แน่นอนและอุปสงค์เคมีภัณฑ์ชะลอตัว แต่ เอสซีจีซีคาดว่าจะได้รับอานิสงส์บวกจากราคาน้ำมันโลกที่มีแนวโน้มลดลงส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเคมีภัณฑ์ลดลง เอสซีจีซี จึงเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และดำเนินการเชิงรุกได้แก่ 1.)ลดต้นทุนบริหารอย่างต่อเนื่อง 2.) เพิ่มความยืดหยุ่นของซัพพลายเชนให้สอดคล้องกับสถานการณ์รวมทั้งเตรียมความพร้อมของโครงการลองเซินปิโตรเคมิคอลส์ที่ประเทศเวียดนาม (LSP) ให้กลับมาเดินเครื่องได้เมื่อสถานการณ์เหมาะสมและ 3.) เร่งพัฒนาสินค้ามูลค่าเพิ่มสูง พร้อมขยายธุรกิจสินค้ากรีน และดิจิทัลโซลูชัน เช่น DRS by Repco NEX

เอสซีจี แถลงผลประกอบการ ไตรมาส 1 ปี 68

นายธรรมศักดิ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า “เอสซีจีเล็งเห็นถึงความท้าทายที่ภาคอุตสาหกรรมกำลังเผชิญโดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
ซึ่งเป็นหัวใจของเศรษฐกิจฐานราก และได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญจากสถานการณ์สงครามการค้าโลกจึงพร้อมเปิดบ้านสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ถ่ายทอดความรู้เสริมศักยภาพ และช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับตัวและแข่งขันได้ ผ่านโครงการ Go Together’ ที่เดินหน้าอย่างต่อเนื่อง และจะครบเป้าหมายเฟสแรก 1,200 คนในเดือนพฤษภาคมนี้ รวมถึงโครงการ ‘NZAP’ ที่มีผู้เข้าร่วมแล้ว 106 ราย ด้วยความร่วมมือและการสนับสนุนซึ่งกันและกันนี้ราจะสามารถก้าวข้ามความท้าทายครั้งนี้ไปได้ด้วยกัน”

เอสซีจี แถลงผลประกอบการ ไตรมาส 1 ปี 68

Previous

Next

Submit a Comment